วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ


การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
ความหมาย
            กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่เด็กคิดสร้างสรรค์ตามความเหมาะสมของกิจกรรมเเต่ละอย่างเรียนรู้จากการกระทำจริงเเละประสบการณ์    เกิดการรับรู้ มั่นใจในความคิด กล้าเเสดงออกโดยถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นผลงาน (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2526)
ทฤษฎี/เเนวคิด
โดยทั่วไปเด็กอายุ 3 - 6 ปี เป็นวัยที่มีความคิด กล้าคิด กล้าเเสดงออก ช่างซักถาม ชอบเลียนเเบบ มีจินตนาการเป็นของตนเอง เเสวงหาคำตอบด้วยตนเอง (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2526) กิจกรรมศิลปะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพทางด้านการคิด (พราวพรรณ เหลือสุวรรณ, 2537) "เมื่อเด็กเขียนสิ่งใด จะเขียนตามที่รู้" การที่เด็กรู้หมายถึงการที่เด็กมีความรู้ต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร เป็นความรู้ ในลักษณะ ใดลักษณะหนึ่ง ในจิตสำนึกของเด็ก การสร้างสรรค์กิจกรรมศิลปะ โดยการวาดภาพของเด็ก ซึ่งมีความสนใจ จดจ่อต่อสิ่งนั้น การสังเกต รูปทรง สี รายละเอียด เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาด้านเชาว์ปัญญา ซึ่ง Harris (1963) กล่าวถึงการวัดเชาว์ปัญญา โดยการวาดภาพว่าเป็น ความสามารถในการพัฒนาความคิดรวบยอดหรือผลของกระบวนการคิดที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งการแสดงออก ของเชาว์ปัญญาประกอบด้วย
 1. ความสามารถในการรับรู้ (Ability to perceive)  คือ  ความสามารถแยกแยะความแตกต่างและความเหมือนได้
2. ความสามารถในการคิดอย่างเป็นนามธรรม (Ability to abstract)  คือ  ความสามารถ ในการจำแนกสิ่งของออกเป็นตามลักษณะ ความเหมือนและความต่างได้
3. ความสามารถในการสรุป (Ability to generlize)  คือ  ความสามารถในการจัดประเภทสิ่งต่างๆที่ตนประสบให้เข้ากับพวกตามคุณสมบัติและประเภทได้ถูกต้อง
แนวทางการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียน กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนมีดังนี้ (จรัล คำภารัตน์, 2539)
1. การวาดภาพ  มีลักษณะต่างๆ  ดังนี้
   1.1 การวาดภาพตามใจชอบหมายถึงการให้โอกาสเด็กได้มีอิสระในการเลือกว่าสิ่งที่เด็กพอใจและสามารถวาดได้ซึ่งส่วนมากเด็กในวัยเรียนมักจะวาดรูปคนบ้านสัตว์ตุ๊กตาเป็นต้น   
1.2 การวาดภาพตามประสบการณ์หมายถึงการเลือกให้เด็กได้มีอิสระในการเลือกวาดภาพจากประสบการณ์ที่เด็กได้ประสบจากการไปเที่ยวตาม สถานที่ต่างๆ หรือสิ่งที่เด็กได้รับเช่นทะเลสวนสัตว์ของขวัญวันเกิดสัตว์เลี้ยงเป็นต้น
1.3 การวาดภาพจากการฟังนิทานหมายถึงการให้เด็กวาดภาพจากนิทานที่ครูเล่าให้ฟังหรือจากเทพนิยายซึ่งเด็กจะแสดงความรู้สึกนึกคิดทางด้านสติปัญญาและความรู้สึกทางด้านจิตใจ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพได้
1.4 การวาดภาพจากเสียงเพลงหมายถึงการให้เด็กได้ฟังเพลงและวาดภาพตามความรู้สึกนึกคิด ของตนเป็นภาพที่เด็กประทับใจจากการฟังเพลง
1.5 การวาดภาพจัดการแสดงบทบาทสมมุติ หมายถึง การให้เด็กวาดภาพจากการที่เด็กแสดงบทบาทสมมุติไปแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
1.6 การวาดภาพด้วยนิ้วมือหมายถึงการใช้นิ้วมือเป็นส่วนที่ทำให้เกิดภาพโดยใช้สีน้ำแต่งเติม ให้เกิดภาพตามจินตนาการ
       2. การปั้น เป็นการนำวัสดุเหนียวแน่นมาประดิษฐ์เป็นรูปทรงต่างๆโดยผ่านกระบวนการคิดจินตนาการของเด็ก
       3 การประดิษฐ์เศษวัสดุ เป็นการนำเศษวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่มีประโยชน์
         3.1 การสร้างงานและการประดิษฐ์ด้วยเศษวัสดุหมายถึงการนำเศษวัสดุอันได้แก่ชิ้นส่วนของกระดาษเปลือกไข่เปลือกหอยเศษผ้าก้านไม้ขีดกระป๋องน้ำนำมาเป็นผลงานทางศิลปะโดยใช้การคิดเพื่อให้ได้ชิ้นงานและตกแต่งให้สวยงาม
       3.2 การประยุกต์และตกแต่งด้วยเศษวัสดุหมายถึงการนำวัสดุเช่นกระดาษพืชผลไม้มาประยุกต์และตกแต่งโดยการเพิ่มสีสันลวดลายหรืออุปกรณ์ต่างๆ
ข้อค้นพบจากการวิจัย
                   จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะมีข้อค้นพบจากการวิจัยด้านวุฒิภาวะทางเชาวน์ปัญญาและ ความพร้อมในการเรียนดังนี้
                   นนทศุกรีย์ ค้าธัญเจริญ ( 2523 ) ได้ศึกษาวุฒิภาวะทางเชาวน์ปัญญาของเด็กไทยในระดับอนุบาลพบว่านักเรียนที่มีระดับอายุต่างกันมีวุฒิภาวะทางเชาว์ปัญญาแตกต่างกันโดยที่ วุฒิภาวะทางเชาวน์ปัญญาเพิ่มขึ้นตามระดับอายุตั้งแต่ 4 ปีจนถึง 6 ปีและวุฒิทางเชาวน์ปัญญามีความสำคัญทางบวกกับความพร้อมในการเรียนบุญโทเจริญผล (2533) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางเชาวน์ปัญญากับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยพบว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาที่แสดงออกโดยภาพวาด และทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันและความสามารถทางเชาวน์ปัญญาจากการวาดภาพของเด็กเพิ่มขึ้นตามระดับอายุ จิรานันประเสริฐศรี  (2535) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญาจากแบบทดสอบ วาดภาพคน และแบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาของ Wechsler ฉบับ WISC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าชาวปัญญาของนักเรียนที่วัดจากแบบวาดภาพคนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเชาว์ปัญญาของนักเรียนที่วัดได้จากแบบทดสอบเชาว์ปัญญาแบบวิสค์ เเละ ธนัญญา อินทะกนก(2545)
วิจัยเปรียบเทียบ ชาวปัญญาก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีเชาว์ปัญญาเพิ่มขึ้นมากกว่า ก่อนการใช้กิจกรรมศิลปะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ          

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมศิลปะ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมศิลปะ


 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมศิลปะ

   สรุปได้ว่า  นวัตกรรมประเภทวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะนี้ผู้สนใจสามารถนำไปแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้แต่ต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมนันทนาการและศิลปะเพื่อให้สามารถใช้นวัตกรรม ได้เหมาะสมกับปัญหาในการจัดการเรียนการสอน และสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง
แหล่งที่มา
               ทวีศักดิ์. https://www.gotoknow.org/posts/154426. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
                นิติ เหมกุล. https://www.gotoknow.org/posts/281190.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
               ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท แด  เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด. 
               http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=25 .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.

             https://sites.google.com/site/pmtech27012212/chiwit-kab-nanthnakar.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
          นิภา แย้มวจี (2552) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้  สื่อการเรียนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละคาบ
คุณค่าและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
          1. ช่วยให้ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการตอบสนองตามที่คาดหวัง จะให้เกิดในตัวนักเรียน
          2. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ให้ นักเรียนได้หลายรูปแบบเช่น ใช้เทปเสียง วีดีทัศน์ การสาธิต หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
          3. ช่วยครูในการเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ให้แก่นักเรียน เช่น ทำรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ สไลด์ มาให้เด็กชม
          4. ช่วยครูจำลองของแทนของจริงที่ไม่สามารถนำมาให้ดูได้ เช่นการเดินทางของดวงจันทร์หมุนรอบโลก ลูกโลก
          5. ช่วยครูสื่อความหมายกับนักเรียนได้ดีขึ้น
การพิจารณาเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจ สนุกสนาน และบรรลุวัตถุประสงค์
          1. ความเหมาะสม สื่อเหมาะกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
          2. ความถูกต้อง สื่อช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปถูกต้อง
          3. ความเข้าใจ สื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
          4. เหมาะสมกับวัย สื่อมีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
          5. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้อง
          6. ใช้การได้ดี เพื่อใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้
          7. คุ้มกับราคา ผลที่ได้คุ้มกับเวลา เงินและการเตรียม
          8. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการ
          9. ช่วงเวลา ความสนใจ สื่อช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจ ช่วงเวลานานพอสมควร
แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนหมวดวิชาคณิตศาสตร์
          วิชาคณิตศาสตร์ เป็นทักษะเชิงสติปัญญาที่ต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาสูงกว่าทักษะทางกายอื่น ๆ เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์เป็นประสบการณ์นามธรรม สิ่งที่ผู้เรียนได้พบเห็นส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวน ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยจะมีปัญหาด้านนามธรรม การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงมุ่งไปที่การสร้างสภาพการณ์และประสบการณ์รูปธรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจประสบการณ์นามธรรมดีขึ้น สื่อการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีตั้งแต่วัสดุที่ใช้แทนจำนวนไปจนถึงสื่อที่สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง เช่น แสดงการเกิดสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในรูปของภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์ เป็นต้น
การผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ มีข้อคิด ดังนี้
          1. ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
          2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์หรือ "KIT" ประกอบด้วย
          3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
          4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล๊อค หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
          5. การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
          6. ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ
Uraiwan Krutuktik (2553) ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน  สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น
แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

(http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html) (2552)   ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ว่า
สื่อการสอน ก็คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนการสอนของเราให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอ ไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรม อย่างนี้เป็นต้น
ประเภทสื่อการสอน
1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
บทบาทของสื่อการสอน
 คือ สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย และน่าสนใจ สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้อย่างชัดเจน และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย
สื่อการสอน มี 4 ประเภท คือ สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่อเทคนิคหรือวิธีการ และ สื่อคอมพิวเตอร์
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ สื่อการสอนคณิตศาสตร์
สรุป
สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนการสอนของผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอ ไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรม อย่างนี้เป็นต้น
ประเภทสื่อการสอน ประกอบด้วย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ มุ่งไปที่การสร้างสภาพการณ์และประสบการณ์รูปธรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจประสบการณ์นามธรรมดีขึ้น สื่อการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีตั้งแต่วัสดุที่ใช้แทนจำนวนไปจนถึงสื่อที่สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง เช่น แสดงการเกิดสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในรูปของภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์ เป็นต้น
ที่มา
นิภา แย้มวจี. (2552). http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=11275&Key=hotnews. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่  26 สิงหาคม 2561.
Uraiwan Krutuktik. (2553). http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่2 6 สิงหาคม 2561.
http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.