วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล


ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486)  ได้กล่าวว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf  ได้รวบรวมไว้ว่า สมองของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้เหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนดังนี้
                1. การรับข้อมูล (input) โดยผ่าน ทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล     กระบวนการประมวลข้อมูล เริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก (recognition) และ ความใส่ใจ (attention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (short – term memory) ซึ่งจะอยู่ในระยะเวลาที่จำกัด ในการทำงานที่จำเป็น ต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการช่วยจำ เช่น การจัดกลุ่มคำหรือการท่องซ้ำ ๆ ซึ่งจะช่วยให้จำได้
                 2. การเข้ารหัส (encoding) ทำได้โดยอาศัยชุดคำสั่ง หรือซอฟแวร์ (software)                              การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ทำได้โดยข้อมูลนั้นต้องได้รับการประมวล และเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส เพื่อนาไปเก็บไว้ในความจาระยะยาว (long – term memory) ซึ่ง อาจต้องใช้เทคนิคต่างๆเข้าช่วย เช่น การทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่าเป็นกระบวนการขยายความคิด (elaborative operations process)
 ความจำระยะยาวมี 2 ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (episodic)ความจำระยะสั้นมี 2 ประเภท คือ ความจำประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว (motoric memory) หรือ ความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก (affective memory)
                 3. การส่งข้อมูลออก (output) ทำได้โดยผ่านทางอุปกรณ์   เมื่อข้อมูลได้รับการบันทึกไว้ ในความจำระยะยาวแล้วบุคคลจะสามารถเรียกข้อมูลต่างๆออกมาใช้ได้ การเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลต้องถอดรหัสข้อมูล (decoding) จาก ความจำระยะยาวนั้น และส่งผลต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหวหรือการพูด สนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
               (http://sites.google.com/site/bookeclair/hk )   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การประมวลผลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ    2    ประการ คือ  การรู้จัก ( Recognition)   และความสนใจ (Atention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า บุคคลจะเลือกรับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งดำรงคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด ในการทำงานที่จะเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำไว้ใช้งานได้
สรุป
            ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็น ทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้ เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
แหล่งอ้างอิง
 http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.
 http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf . [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.
 http://sites.google.com/site/bookeclair/hk . [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น