วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ


การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
ความหมาย
            กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่เด็กคิดสร้างสรรค์ตามความเหมาะสมของกิจกรรมเเต่ละอย่างเรียนรู้จากการกระทำจริงเเละประสบการณ์    เกิดการรับรู้ มั่นใจในความคิด กล้าเเสดงออกโดยถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นผลงาน (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2526)
ทฤษฎี/เเนวคิด
โดยทั่วไปเด็กอายุ 3 - 6 ปี เป็นวัยที่มีความคิด กล้าคิด กล้าเเสดงออก ช่างซักถาม ชอบเลียนเเบบ มีจินตนาการเป็นของตนเอง เเสวงหาคำตอบด้วยตนเอง (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2526) กิจกรรมศิลปะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพทางด้านการคิด (พราวพรรณ เหลือสุวรรณ, 2537) "เมื่อเด็กเขียนสิ่งใด จะเขียนตามที่รู้" การที่เด็กรู้หมายถึงการที่เด็กมีความรู้ต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร เป็นความรู้ ในลักษณะ ใดลักษณะหนึ่ง ในจิตสำนึกของเด็ก การสร้างสรรค์กิจกรรมศิลปะ โดยการวาดภาพของเด็ก ซึ่งมีความสนใจ จดจ่อต่อสิ่งนั้น การสังเกต รูปทรง สี รายละเอียด เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาด้านเชาว์ปัญญา ซึ่ง Harris (1963) กล่าวถึงการวัดเชาว์ปัญญา โดยการวาดภาพว่าเป็น ความสามารถในการพัฒนาความคิดรวบยอดหรือผลของกระบวนการคิดที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งการแสดงออก ของเชาว์ปัญญาประกอบด้วย
 1. ความสามารถในการรับรู้ (Ability to perceive)  คือ  ความสามารถแยกแยะความแตกต่างและความเหมือนได้
2. ความสามารถในการคิดอย่างเป็นนามธรรม (Ability to abstract)  คือ  ความสามารถ ในการจำแนกสิ่งของออกเป็นตามลักษณะ ความเหมือนและความต่างได้
3. ความสามารถในการสรุป (Ability to generlize)  คือ  ความสามารถในการจัดประเภทสิ่งต่างๆที่ตนประสบให้เข้ากับพวกตามคุณสมบัติและประเภทได้ถูกต้อง
แนวทางการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียน กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนมีดังนี้ (จรัล คำภารัตน์, 2539)
1. การวาดภาพ  มีลักษณะต่างๆ  ดังนี้
   1.1 การวาดภาพตามใจชอบหมายถึงการให้โอกาสเด็กได้มีอิสระในการเลือกว่าสิ่งที่เด็กพอใจและสามารถวาดได้ซึ่งส่วนมากเด็กในวัยเรียนมักจะวาดรูปคนบ้านสัตว์ตุ๊กตาเป็นต้น   
1.2 การวาดภาพตามประสบการณ์หมายถึงการเลือกให้เด็กได้มีอิสระในการเลือกวาดภาพจากประสบการณ์ที่เด็กได้ประสบจากการไปเที่ยวตาม สถานที่ต่างๆ หรือสิ่งที่เด็กได้รับเช่นทะเลสวนสัตว์ของขวัญวันเกิดสัตว์เลี้ยงเป็นต้น
1.3 การวาดภาพจากการฟังนิทานหมายถึงการให้เด็กวาดภาพจากนิทานที่ครูเล่าให้ฟังหรือจากเทพนิยายซึ่งเด็กจะแสดงความรู้สึกนึกคิดทางด้านสติปัญญาและความรู้สึกทางด้านจิตใจ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพได้
1.4 การวาดภาพจากเสียงเพลงหมายถึงการให้เด็กได้ฟังเพลงและวาดภาพตามความรู้สึกนึกคิด ของตนเป็นภาพที่เด็กประทับใจจากการฟังเพลง
1.5 การวาดภาพจัดการแสดงบทบาทสมมุติ หมายถึง การให้เด็กวาดภาพจากการที่เด็กแสดงบทบาทสมมุติไปแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
1.6 การวาดภาพด้วยนิ้วมือหมายถึงการใช้นิ้วมือเป็นส่วนที่ทำให้เกิดภาพโดยใช้สีน้ำแต่งเติม ให้เกิดภาพตามจินตนาการ
       2. การปั้น เป็นการนำวัสดุเหนียวแน่นมาประดิษฐ์เป็นรูปทรงต่างๆโดยผ่านกระบวนการคิดจินตนาการของเด็ก
       3 การประดิษฐ์เศษวัสดุ เป็นการนำเศษวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่มีประโยชน์
         3.1 การสร้างงานและการประดิษฐ์ด้วยเศษวัสดุหมายถึงการนำเศษวัสดุอันได้แก่ชิ้นส่วนของกระดาษเปลือกไข่เปลือกหอยเศษผ้าก้านไม้ขีดกระป๋องน้ำนำมาเป็นผลงานทางศิลปะโดยใช้การคิดเพื่อให้ได้ชิ้นงานและตกแต่งให้สวยงาม
       3.2 การประยุกต์และตกแต่งด้วยเศษวัสดุหมายถึงการนำวัสดุเช่นกระดาษพืชผลไม้มาประยุกต์และตกแต่งโดยการเพิ่มสีสันลวดลายหรืออุปกรณ์ต่างๆ
ข้อค้นพบจากการวิจัย
                   จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะมีข้อค้นพบจากการวิจัยด้านวุฒิภาวะทางเชาวน์ปัญญาและ ความพร้อมในการเรียนดังนี้
                   นนทศุกรีย์ ค้าธัญเจริญ ( 2523 ) ได้ศึกษาวุฒิภาวะทางเชาวน์ปัญญาของเด็กไทยในระดับอนุบาลพบว่านักเรียนที่มีระดับอายุต่างกันมีวุฒิภาวะทางเชาว์ปัญญาแตกต่างกันโดยที่ วุฒิภาวะทางเชาวน์ปัญญาเพิ่มขึ้นตามระดับอายุตั้งแต่ 4 ปีจนถึง 6 ปีและวุฒิทางเชาวน์ปัญญามีความสำคัญทางบวกกับความพร้อมในการเรียนบุญโทเจริญผล (2533) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางเชาวน์ปัญญากับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยพบว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาที่แสดงออกโดยภาพวาด และทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันและความสามารถทางเชาวน์ปัญญาจากการวาดภาพของเด็กเพิ่มขึ้นตามระดับอายุ จิรานันประเสริฐศรี  (2535) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญาจากแบบทดสอบ วาดภาพคน และแบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาของ Wechsler ฉบับ WISC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าชาวปัญญาของนักเรียนที่วัดจากแบบวาดภาพคนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเชาว์ปัญญาของนักเรียนที่วัดได้จากแบบทดสอบเชาว์ปัญญาแบบวิสค์ เเละ ธนัญญา อินทะกนก(2545)
วิจัยเปรียบเทียบ ชาวปัญญาก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีเชาว์ปัญญาเพิ่มขึ้นมากกว่า ก่อนการใช้กิจกรรมศิลปะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ          

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมศิลปะ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมศิลปะ


 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมศิลปะ

   สรุปได้ว่า  นวัตกรรมประเภทวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะนี้ผู้สนใจสามารถนำไปแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้แต่ต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมนันทนาการและศิลปะเพื่อให้สามารถใช้นวัตกรรม ได้เหมาะสมกับปัญหาในการจัดการเรียนการสอน และสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง
แหล่งที่มา
               ทวีศักดิ์. https://www.gotoknow.org/posts/154426. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
                นิติ เหมกุล. https://www.gotoknow.org/posts/281190.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
               ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท แด  เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด. 
               http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=25 .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.

             https://sites.google.com/site/pmtech27012212/chiwit-kab-nanthnakar.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น